กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ Provident Funds

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คืออะไร – 3 เคล็ดลับสำหรับเด็กจบใหม่!

ลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ Provident Funds
ลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ Provident Funds

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คืออะไร

Provident Funds หรือ PVD เป็นกองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันสะสมเงินไว้เพื่อการเกษียณ โดยนายจ้างจะสมทบเงินให้พนักงานตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์ที่พนักงานได้รับเพิ่มเติมจากเงินเดือน การเข้าร่วมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะช่วยให้พนักงานมีแผนการออมเงินระยะยาว และยังสามารถลดหย่อนภาษีได้ตามกฎหมาย

ในบทความนี้ เราจะมาแนะนำ 3 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับเด็กจบใหม่ พร้อมเทคนิคการจัดการเงินที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้คุณได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเข้าร่วมกองทุนนี้

ปัจจุบันมี PVD หลายเจ้าอยู่ในท้องตลาด ยกตัวอย่างเช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรุงไทย MFC บลจ.บัวหลวง SCB หรือแทบทุกบลจ.ก็สามารถจัดตั้ง PVD ได้ด้วยเหมือนกัน

การเข้าร่วมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จึงเป็นเรื่องที่พนักงานทุกคนควรศึกษาให้เข้าใจ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่เริ่มทำงานใหม่ หรือยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการจัดการการออมและการลงทุน เพราะนอกจากจะเป็นแหล่งเงินออมที่มั่นคงแล้ว ยังเป็นวิธีที่ดีในการสร้างเงินออมเพื่อใช้ในอนาคต


1. สัดส่วนที่บริษัทสมทบขึ้นอยู่กับอายุงานหรือเงื่อนไขของบริษัท

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สมทบกี่%
หนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เด็กจบใหม่ควรทราบเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคือ
สัดส่วนการสมทบเงินจากนายจ้าง(บริษัท) อาจขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท บางบริษัทอาจจะสมทบเงินในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนปีที่พนักงานทำงาน เช่นในปีแรกอาจสมทบ 5% ของเงินเดือน แต่ถ้าทำงานนานขึ้น เช่น 10 ปี อาจสมทบสูงสุดถึง 10% แล้วแต่บริษัท

– สัดส่วนเงินที่เราใส่ได้สูงสุดคือ 15%

การเข้าใจนโยบายนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะคุณสามารถนำข้อมูลนี้มาใช้วางแผนการเงินของคุณในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณควรศึกษาเงื่อนไขการสมทบของบริษัทให้ละเอียดเพื่อไม่พลาดโอกาสในการรับผลประโยชน์สูงสุด

เทคนิคการใช้ประโยชน์:
ควรเลือกใส่เงินเข้ากองทุนให้สอดคล้องกับสัดส่วนที่บริษัทสมทบสูงสุด เช่น หากบริษัทสมทบให้ 5% ของเงินเดือน คุณควรสะสมเงินในอัตรา 5% เช่นกัน เพื่อรับผลประโยชน์เต็มที่จากบริษัทโดยไม่พลาดโอกาสในการออมเพิ่ม


2. ใช้ Website Financialtimes.com

แต่ก่อนกองทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นมักถูกปิดเป็นความลับเยอะมาก 5555 หาข้อมูลว่าถือหุ้นเท่าไหร่ก็ไม่ค่อยเจอ ปัจจุบันใช้นโยบายกองทุนเดียวกันกับกองทุนเปิด(ที่คนอื่นๆสามารถลงทุนได้) ซึ่งทำให้ข้อมูลต่างๆโปร่งใสมากขึ้น รวมถึงกองทุนต่างประเทศ

กองทุนต่างประเทศ

กองทุนต่างประเทศส่วนใหญ่แล้ว กองทุนไทยจะนำไปฝากเขาลงทุน เราจะสามารถดูได้ว่ากองทุนที่เราถืออยู่ปัจจุบันถือหุ้นอะไรอยู่แบบ real time โดยสามารถนำกองทุนแม่ (feeder fund) ดูชื่อได้จาก fund fact sheet แล้วไปค้นหาเพื่อดูว่ากองทุนนั้นปัจจุบันถือหุ้นอะไรอยู่บ้างผ่าน website: financial times
ยกตัวอย่างเช่น กองทุน B-INNOTECH เราไปฝากกองทุน Fidelity Global Technology Fund ลงทุน
>>>ให้พิมพ์ financial times ตามด้วย Fidelity Global Technology Fund แล้วจะขึ้นลิ้งค์ นี้เป็นต้น


3. ลง PVD เท่าที่บริษัทสมทบพอ ที่เหลือนำไปลงทุนเอง

แม้ว่าคุณสามารถสะสมเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้สูงสุดถึง 15% ของเงินเดือน แต่การใส่เงินจำนวนมากเกินไปในกองทุนนี้อาจทำให้คุณพลาดโอกาสในการลงทุนในกองทุนอื่น ๆ ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า เช่น กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ซึ่งสามารถลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน และมีความยืดหยุ่นมากกว่า PVD ในแง่ของการถอนเงิน

เทคนิคการจัดการเงินออม:

หากบริษัทสมทบเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 5% คุณอาจเลือกใส่เพียง 5% แล้วนำเงินส่วนที่เหลือไปลงทุนใน ThaiESG (TESG) SSF หรือ RMF ที่มีผลตอบแทนและข้อดีด้านภาษีที่หลากหลายกว่า วิธีนี้จะช่วยกระจายความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการรับผลตอบแทนที่ดีกว่าในระยะยาว

4. สรุป

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนการเงินเพื่ออนาคตสำหรับเด็กจบใหม่ แต่การเข้าใจรายละเอียดและจัดการอย่างถูกต้องจะทำให้คุณได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเข้าร่วมกองทุนนี้ เรื่องที่คุณควรให้ความสำคัญคือ

สัดส่วนการสมทบจากนายจ้าง: เข้าใจนโยบายของบริษัทเพื่อให้คุณสามารถออมเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ใช้เว็บไซต์ financial times: เพื่อดูว่ากองทุนต่างประเทศปัจจุบันกำลังถือหุ้นอะไรอยู่แบบ real time

การจัดสรรเงินออมอย่างฉลาด: ไม่ควรใส่เงินทั้งหมดใน PVD แต่ควรนำส่วนหนึ่งไปลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษี เช่น SSF หรือ RMF เพื่อเพิ่มโอกาสในการรับผลตอบแทน

การเริ่มต้นออมเงินและลงทุนตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงินในอนาคตและเตรียมพร้อมสำหรับวัยเกษียณอย่างมั่นใจ

องทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งจดทะเบียนแล้

5. สนใจจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับบลจ.บัวหลวง

Fluke 640 640
line add friend

โทร 080-294-5216
อีเมล contact@wunlawealth.com

6. คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืออะไร?

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund – PVD) คือกองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันสะสมเงินเพื่อการออมระยะยาวสำหรับวัยเกษียณ

สามารถลดหย่อนภาษีจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้หรือไม่?

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถนำเงินสะสมไปหักลดหย่อนภาษีได้ตามกฎหมายไม่เกิน 15% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

เด็กจบใหม่ควรสะสมเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเท่าไร?

ควรสะสมในสัดส่วนที่บริษัทสมทบสูงสุดที่นายจ้างทบ ส่วนที่เหลือให้ไปซื้อกองทุน หรือประกันลดหย่อนภาษี เช่น หากนายจ้างสมทบ 5% ควรสะสมในอัตรา 5% เพื่อรับผลประโยชน์สูงสุด

ควรเลือกแผนการลงทุนอย่างไรในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ?

สำหรับผู้เริ่มต้นควรเลือกแผนที่บริษัทแนะนำและให้เหมาะกับความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ ซึ่งมักจะมีความเสี่ยงต่ำ เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น สามารถเลือกแผนที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นได้

ควรใส่เงินทั้งหมดในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือไม่?

ไม่ควรใส่เงินทั้งหมดใน PVD ควรแบ่งเงินบางส่วนไปลงทุนในสินทรัพย์การลงทุน หรือประกันเพิ่มเติม

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพปลอดภัยหรือไม่?

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีการจัดการโดยบริษัทจัดการกองทุนที่เชี่ยวชาญ ซึ่งจะทำให้การลงทุนมีความปลอดภัยและมีโอกาสได้รับผลตอบแทนในระยะยาว

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพติดต่อที่ไหน

ฝ่ายบุคคล (HR) ของบริษัท

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สมทบกี่%

1.เราสมทบได้สูงสุด 15%
2.เงินสมทบบริษัทของแต่ละที่จะแตกต่างกันไป

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ได้คืนยังไง

ติดต่อ HR ให้ทำการขายคืน โดยหากครบเงื่อนไขอายุ 55 ปี และซื้อมาต่อเนื่อง 5 ปี จะไม่ต้องนำมาเป็นรายได้เพื่อเสียภาษี

แต่หากขายแบบผิดเงื่อนไข จะต้องนำมาคิดรายได้ ณ ปีที่รับเงินอีกด้วย

อ้างอิง: กลต

หากสนใจจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องทำอย่างไรบ้าง

ติดต่อที่ www.wunlawealth.com/pvd
080-294-5216
LINE ID: @wunlawealth

Similar Posts