Cheat sheet 2 – สอนยื่นภาษีแพทย์ และยื่นภาษีทันตแพทย์ 2567 (ภ.ง.ด.90)
***บทความเกี่ยวกับภาษี แพทย์ ทันตแพทย์ทั้งหมดกำลังจะถูกย้ายไป www.morpasee.com ภายใต้ทีมงาน WunLawealth® เช่นกันครับ Please stay tuned!***
ในที่สุดก็มาถึงเทศกาลยื่นภาษี 2565 ประจำปีที่ทุกคนรอคอยเสียที (ใช่หรอ 555) โดยปีนี้ทางสรรพากรก็ยังใจดีให้เรายื่นภาษีได้ถึงวันที่ 10 เมษายน 2566 ด้วยนะครับ! เห็นมี comment และ post ของหลายๆคนถามกันเข้ามาในช่อง Youtube และ Social Media ว่า “แพทย์และทันตแพทย์ที่พึ่งจบใหม่ ต้องยื่นภาษียังไงคะ?” เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่เฉพาะกลุ่มมาก จะมีรายละเอียดยิบย่อยต่างๆค่อนข้างเยอะกว่ามนุษย์ออฟฟิศปกติ วันนี้ฟลุคเลยมาจับมือน้องๆ ยื่นภาษีไปพร้อมกันครับ!
โดยทั้ง 2 วิชาชีพนี้ลักษณะการยื่นเหมือนกันทุกอย่าง 100% เลยครับ ก่อนที่จะเริ่มอ่านบทความนี้ ฟลุคแนะนำอ่านบทความก่อนหน้านี้ของฟลุคเกี่ยวกับ การคำนวณภาษีและข้อควรระวังของกลุ่มแพทย์และทันตแพทย์ก่อน ซึ่งจะทำให้การยื่นภาษีหมอ และยื่นภาษีหมอฟัน ทำได้ถูกต้องตามหลักสรรพากรและเห็นภาพมากขึ้น รวมถึงการสอนคำนวณภาษีที่เราต้องเสียแบบทีละสเต็ป (เพื่อที่จะเข้าใจวิธีคำนวณภาษีก่อนหันไปใช้แอพฯคำนวณภาษีให้เรา)
อย่างไรก็ตามแม้บทความนี้จะสร้างมาสำหรับแพทย์และทันตแพทย์แล้ว คนที่ต้องการยื่นภาษีหรือบุคคลทั่วไป ก็สามารถใช้ blog นี้ของฟลุคเป็น guideline ได้เช่นกันครับ หวังว่า blog นี้จะทำให้ชีวิตการจัดการเรื่องภาษีง่ายขึ้นหลายๆเท่านะครับ 🙂
1.เตรียมเอกสารรายได้ (ทั้งปี) และคำนวณภาษีเบื้องต้น
ขั้นแรกเลยในการยื่นภาษีคือการรวบรวมเอกสาร ถ้าให้ดี แนะนำตีเป็นตาราง excel ครับเนื่องจากแพทย์กับทันตแพทย์มักรับรายได้หลายช่องทาง เช่น
รายได้ครึ่งปีแรก (ภ.ง.ด.94) | 40(1) | 40(2) | 40(6) | 40(8) | ภาษีหัก ณ ที่จ่าย |
1. | |||||
2. | |||||
รายได้ครึ่งปีหลัง | |||||
3. | |||||
4. | |||||
รวม |
หากท่านใดยื่นรายได้แบบ 40(6) แนะนำให้แนบหนังสือสัญญาเช่าสถานที่ไปด้วยนะครับ
ก่อนที่ทุกคนจะเริ่มคำนวณภาษี หรือเริ่มดำเนินการพาร์ตอื่นๆต่อไป ฟลุครบกวนอ่านบทความข้างล่างนี้ก่อนนะครับ สำคัญมาก!
เพราะจากการทำงานด้านการวางแผนภาษีให้แพทย์และทันตแพทย์มากว่า 5 ปีพบกว่าในปัจจุบันยังมีคนยื่นภาษีผิดประเภทกันอยู่เลย ซึ่งถ้าเกิดมีการถูกตรวจสอบขึ้นมาจริงๆ แล้วพบว่ายื่นผิด อาจโดน
“อาจเสียค่าปรับเป็นแสน + ดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือนก็เป็นได้!”
2.เตรียมเอกสารค่าลดหย่อน
2.1.ประเภทของค่าลดหย่อนต่างๆ
ประเภทของค่าลดหย่อน ฟลุคจะแบ่งโดยใช้เกณฑ์ตัวเองเพื่อให้เข้าใจง่าย คือ
2.1.1 ค่าลดหย่อนจากช่องทางรายได้
เช่น ค่าลดหย่อนเงินได้ 40(1)+(2) รวมกันแล้วหักได้ 50% และไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนรายได้แบบ 40(6) สามารถหักได้ 60% เป็นต้น (ซึ่งในเว็บคำนวณภาษีเขาจะคำนวณไว้ให้ทั้งหมด)
2.1.2 ค่าลดหย่อนที่ไม่ต้องซื้อ
เช่น ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา 30,000 บาท/ท่าน (ใช้เกณฑ์ในรูปด้านบน) อุปการะผู้พิการ/ทุพพลภาพ 60,000 บาท/คน หรือ ลดหย่อนบุตรได้คนละ 30,000 บาท เป็นต้น
2.1.3 ค่าลดหย่อนที่ต้องซื้อ เช่น ประกันชีวิต ประกันบำนาญ กองทุน RMF SSF ฯลฯ
2.1.4 บริจาค เช่น บริจาคให้โรงเรียนหรือโรงพยาบาลของรัฐจะได้ค่าลดหย่อน 2 เท่า
3.คำนวณภาษีเบื้องต้นโดยใช้แอพคำนวณภาษี หรือ เว็บคำนวณภาษี
เพื่อให้เราได้ทราบเบื้องต้นว่าเราต้องเสียภาษีเพิ่มไหม ต้องจ่ายเพิ่ม หรือว่าจะได้คืนเท่าไหร่ สามารถใช้แอพคำนวณภาษีต่างๆ เช่น iTAX หรือ web คำนวณภาษีของกรุงไทย
4.วิธียื่นภาษีออนไลน์ 2565
หากรูปด้านบนไม่ชัด สามารถเปิดดูและดาวน์โหลดผ่าน PDF file ด้านล่างนี้ได้นะครับ
หาก Post นี้เป็นประโยชน์กับพี่ๆน้องๆ
รบกวนกด SHARE เป็นกำลังใจให้ฟลุคด้วยนะครับ 🙂
5.คำถามที่พบบ่อย
5.1.ต้องยื่นภาษีแบบไหน ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91
เอาจริงๆแล้วถ้าเรายื่นออนไลน์ ไม่ต้องไปซีเรียสมาก กดปุ่มยื่นภาษี ภ.ง.ด.90/91 แล้วระบบจะเลือกให้เองว่าของเราจะต้องใช้แบบไหน ชื่ออะไร
แต่หากเรายื่นกระดาษ เราจะต้องเลือกให้ถูก ซึ่งฟลุคแนบ guideline ให้ดังนี้ครับ
1.1 หากเรามีรายได้เป็นเงินเดือนเท่านั้น 40(1) ให้ยื่น ภ.ง.ด.91 ; วิธีจำ คือเลขลงท้ายด้วย 1 เหมือนกัน
1.2 หากเรามีรายได้มากกว่า 1 ประเภท หรือรายได้ประเภทอื่นๆ ให้ยื่น ภ.ง.ด.90
5.2.ตรวจสอบยื่นภาษีได้ที่ไหน?
อยากตรวจสอบผลการยื่นภาษีว่าตอนนี้ถึงขั้นตอนไหนแล้ว ให้คลิกที่นี่
5.3.ยื่นภาษีออนไลน์ได้ที่ไหน?
สามารถกดยื่นภาษีออนไลน์ 2565 ได้ที่ลิ้งค์ของเว็บสรรพากรที่นี้
5.4.รายได้เท่าไหร่ที่ต้องยื่นภาษี?
หากเรามีเฉพาะเงินเดือน 40(1) 120,000 บาทต่อปีขึ้นไป (โสด) 220,000 บาทต่อปีขึ้นไป (สมรส) ที่ต้องยื่นภาษี
เงินได้ประเภทอื่นๆ 40(2)-(8) 60,000 บาทต่อปีขึ้นไป (โสด) 120,000 บาทต่อปีขึ้นไป (สมรส) ที่ต้องยื่นภาษี
อ้างอิง. เงินได้ขั้นต่ำตามกฎหมาย | กรมสรรพากร – The Revenue Department (rd.go.th)
TIPS: หากเรารับจ็อบข้างนอก เช่น เป็นช่างกล้อง สอนพิเศษตามโรงเรียน หรือไปรับจ็อบต่างๆ และได้รายได้มา 100,000 บาท (ทั้งปี) สมมุติว่าทางบริษัท/สถาบันหักภาษี ณ ที่จ่ายให้เราไว้ สมมุติว่า 3,000 บาท
แม้ว่าตามเกณฑ์เราจะไม่ต้องเสียภาษี และไม่ต้องยื่นภาษีเลยด้วยซ้ำ แต่ฟลุคแนะนำให้ยื่นภาษีนะ เพราะ เพราะ เพราะว่า….
ตามเกณฑ์ภาษีเราไม่ต้องเสียภาษีเพราะรายได้อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่เสียภาษี แต่บริษัท/องค์กรนั้นๆหักภาษีให้เราไว้แล้ว ดังนั้นหากเรายื่นภาษี เราสามารถขอเงิน 3,000 บาทคืนได้นั่นเอง!
5.5.ยื่นภาษี 2565 หมดเขตเมื่อไหร่?
10 เมษยายน 2566
5.6.วิธีนี้ใช้สำหรับการสอนยื่นภาษีบุคคลธรรมดา2565 ได้ไหม?
ได้ครับ แม้ว่าขั้นตอนดังกล่าวจะออกแบบมาให้เฉพาะแพทย์และทันตแพทย์ แต่ว่าบุคคลธรรมดาสามารถใช้ blog นี้อ้างอิงสำหรับยื่นภาษีบุคคลธรรมดาได้เช่นกันครับ
5.7.ภงด.90 91 คืออะไร?
ภ.ง.ด.90 กับภ.ง.ด.91 คือชื่อเอกสารที่ใช้ยื่นภาษีในเว็บไซต์สรรพากร
ในความเป็นจริงถ้าเรายื่นออนไลน์ เราแทบไม่ต้องจำอะไรเลย ระบบสรรพากรจะเลือกให้เราเองว่าเราต้องยื่นแบบไหน
แต่หากเราทำการยื่นเพิ่มเติม ลืมยื่นเลยต้องยื่นแบบกระดาษ
– ภงด90 คือ แบบยื่นภาษีหากเรามีเงินได้เฉพาะเงินเดือน 40(1) (วิธีจำคือจะลงท้ายด้วย 1 เหมืนกัน)
– ภงด91 คือ แบบยื่นภาษีหากเรามีรายได้ช่องทางอื่นๆที่ไม่ใช่ 40(1) เช่น 40(2) หรือมี 40(2) + 40(6) ด้วย เราจะต้องยื่น ภ.ง.ด.90
5.8.เราสามารถจ่ายภาษีบุคคลธรรมดาได้แบบไหนได้บ้าง?
หากเราต้องจ่ายภาษีเพิ่ม เราสามารถจ่ายผ่าน QR code (prompt pay) หรือจ่ายผ่านบัตรเครดิตก็ได้ นอกจากนี้เรายังสามารถจ่ายยอดเต็มหรือผ่อนจ่าย 3 งวดได้เช่นกัน
5.9.ภงด90 คือ pantip
ภงด90 คือ แบบยื่นภาษีหากเรามีเงินได้เฉพาะเงินเดือน 40(1) (วิธีจำคือจะลงท้ายด้วย 1 เหมืนกัน)
ติดปัญหาเรื่องยื่นภาษีตรงไหนไหมครับ?
ปรึกษาฟลุคได้เลยครับ!
โทร 080-294-5216
อีเมล contact@wunlawealth.com