ประกันสุขภาพ Copayment – URGENT update 2568!
อัพเดทเรื่องทันกระแส 2568!
จากกระแสข่าวที่กำลังมาแรงมากๆเกี่ยวการที่ยอดเคลมบริษัทประกันพุ่ง จึงทำให้หลายๆค่ายคาดการณ์ว่าต้นปีหน้าจะมีการนำเรื่อง ‘Copayment’ ของประกันสุขภาพ New Health Standard เข้ามาใช้สำหรับลูกค้าใหม่ ในปี 2568 โดยคาดว่าลูกค้าเก่าจะไม่ได้รับผลกระทบ
แม้ว่าข่าวดังกล่าวหนาหูมากๆ แต่ยังไม่มีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ หากมีการประกาศแล้ว ตัวแทนของท่านจะรีบแจ้งให้คุณทราบอย่างแน่นอน
เมื่อพูดถึงการทำประกันสุขภาพ มีคำศัพท์สองคำที่มักสร้างความสับสนให้กับผู้ทำประกัน นั่นคือ Deductible (ค่าเสียหายส่วนแรก) และ Copayment (ค่าร่วมจ่าย) วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจความแตกต่างและข้อควรรู้เกี่ยวกับทั้งสองอย่างกัน
1.ประกันสุขภาพ Copayment คืออะไร?
Copayment หรือค่าร่วมจ่าย คือการที่ผู้ซื้อประกันต้องร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลในอัตราส่วนที่กำหนด เช่น 20% 30% ฯลฯ (ขึ้นอยู่กับแพคเกจนั้นๆของคุณกำหนด) ของค่ารักษาทั้งหมดที่เกิดขึ้น
ข้อดีของ Copayment
- จ่ายน้อยกว่า Deductible ในแต่ละครั้ง
- เห็นส่วนแบ่งค่าใช้จ่ายชัดเจน
- เหมาะกับผู้ที่ต้องพบแพทย์บ่อย เนื่องจากหากค่ารักษาแต่ละครั้งไม่เยอะ อาจมีการจ่ายเองเพิ่มอีกเพียงแค่เล็กน้อย
ข้อเสียของ Copayment
- หากค่ารักษาสูง ส่วนที่ต้องร่วมจ่ายก็จะสูงตามไปด้วย
- ต้องจ่ายทุกครั้งที่ใช้บริการ
2.ประกันสุขภาพ Deductible คืออะไร?
Deductible/Excess แปลไทยคือ ค่าเสียหายส่วนแรก คือจำนวนเงินที่ผู้เอาประกันต้องจ่ายเองก่อนที่ประกันสุขภาพตัวนั้นจะเริ่มทำงาน เช่น หากกรมธรรม์ระบุ Deductible ไว้ที่ 30,000 บาท หมายความว่าคุณต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล 30,000 บาทแรก
- ด้วยตัวเอง
- เบิกจากประกันกลุ่ม หรือสิทธิ์การรักษาต่างๆ
- ประกันสุขภาพเล่มอื่น (จากบริษัทประกันเดียวหรือต่างกันก็ได้)
หลังจากนั้นบริษัทประกันจึงจะเริ่มจ่ายส่วนที่เหลือให้
ข้อดีของ Deductible
- เบี้ยประกันต่อปีถูกลง เพราะคุณรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนแรกเอง
- เหมาะสำหรับผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่ค่อยเจ็บป่วย
- สร้างความรับผิดชอบในการดูแลสุขภาพ
- ค่าใช้จ่ายระยะยาวถูกกว่า Copayment
เช่นสินค้า deductible เป็นรายปี เช่น BLA Prestige Health ปลดล็อค ที่เริ่มต้น deduct ที่ 50,000 บาท และการนับ deduct เป็นแบบรายปี หากครั้งแรกเคลมครบ 50,000 บาทแล้ว ครั้งอื่นๆในปีนั้นบริษัทประกันจะจ่ายให้เลยตั้งแต่บาทแรก
แต่หากเป็น copayment ทุกๆครั้งที่เคลมจะต้องจ่ายร่วมกับทางบริษัทประกัน เป็นต้น
ปล.จะต้องเช็คให้ดีอีกครั้งว่าสินค้าประกันสุขภาพเหมาจ่ายนั้นๆที่คุณซื้อ เป็น Deduct เป็นแบบรายครั้ง (BLA Happy Health เดิม/Premier) หรือรายปี (BLA Prestige Health ปลดล็อค)
ข้อเสียของ Deductible
- ต้องมีเงินสำรองไว้จ่ายค่ารักษาก้อนแรก อาจไม่ตอบโจทย์สำหรับผู้ไม่มีประกันกลุ่มหรือสวัสดิการอื่น
- อาจไม่คุ้มค่าหากมีการเจ็บป่วยบ่อย
- ต้องจ่ายครบตามจำนวน Deductible ก่อนประกันจึงจะเริ่มจ่าย
เลือกแบบไหนดี?
การเลือกระหว่าง Deductible และ Copayment ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง:
ควรเลือก Deductible เมื่อ:
- มีเงินสำรองพอสำหรับค่าใช้จ่ายก้อนแรก ประกันกลุ่ม หรือสวัสดิการอื่น
- ต้องการจ่ายเบี้ยประกันต่อปีที่ต่ำลง
- มีสุขภาพแข็งแรง ไม่ค่อยเจ็บป่วย
- หากแผน Deductible ของคุณเป็นรายปี ก็อาจตอบโจทย์กว่าการเลือกสินค้าแบบ Copayment
ส่วนคำถามว่าจะมีสินค้าที่ทั้ง deductible และ copayment ไหม…อันนี้ยังไม่กล้าตอบครับ ต้องรอประกาศอย่างเป็นทางการจากบริษัทประกันก่อน
ควรเลือก Copayment เมื่อ:
- ต้องการกระจายค่าใช้จ่ายเป็นก้อนเล็กๆ
- มีโรคประจำตัวที่ต้องพบแพทย์บ่อย
- ไม่ต้องการเสี่ยงกับค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่
สรุป
ทั้ง Deductible และ Copayment มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน การเลือกแบบใดขึ้นอยู่กับสถานะทางการเงิน สุขภาพ และความต้องการส่วนบุคคล ควรพิจารณาอย่างรอบคอบและปรึกษาตัวแทนประกันเพื่อเลือกแบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ
หากคุณกำลังพิจารณาทำประกันสุขภาพ อย่าลืมศึกษารายละเอียดเงื่อนไขการจ่ายผลประโยชน์ เช่น Deduct เป็นรายครั้ง หรือรายปี และ %Copayment ว่าบริษัทจะจ่ายให้เท่าไหร่ ก่อนตัดสินใจ
ปรึกษาเราฟรี
โทร 080-294-5216
อีเมล contact@wunlawealth.com