Cheat sheet 3 – ค่าลดหย่อนภาษีครึ่งปี 2567 (ภ.ง.ด.94) มีอะไรบ้าง? – รู้งี้ SAVE ภาษีได้ตั้งนานแล้ว!
สำหรับค่าลดหย่อนภาษีครึ่งปี หรือค่าลดหย่อนภาษี 2567 ฟลุคมักจะพบปัญหาเหล่านี้ซึ่งคิดว่าหลายๆท่านก็น่าจะมีปัญหาเดียวกัน นั่นก็คือ การ search หาค่าลดหย่อนภาษีครึ่งปี 2567 ภงด.94 หรือ PND94 (ภาษาอังกฤษ) ว่ามีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง ซึ่งส่วนตัวแล้วคิดว่าเป็นปัญหาโลกแตก เพราะมันหาในเว็บไม่ได้เลย!
ในฐานะที่ปรึกษาการเงิน (และต้องยื่นเองด้วย) ผมเลยทำสรุปตารางค่าลดหย่อนภาษี 2567 ครึ่งปีต่างๆไว้ด้านล่างให้ทุกท่านนำไปใช้เรียบร้อยในแล้วนะครับ
นอกจากค่าลดหย่อนฯที่ผมสรุปมาให้แล้ว ในโพสนี้ยังแถมเนื้อหาสำคัญไว้ให้ด้วย นั่นก็คือ คำถามที่พบบ่อยที่สุดจากการทำงานในอาชีพที่ปรึกษาการเงินมาตลอด 4 ปี เกี่ยวกับ ภงด.94 หรือการยื่นภาษี คือ
- ฉันไม่รู้ว่า “ฉันต้องใช้แบบ ยื่นภาษี ภงด.” อะไร ✅
- เรามีสิทธิ์ลดหย่อนอะไรบ้าง? ใช้ครบหรือยัง!?! ✅
- จะใช้สิทธิ์ลดหย่อนนั้นๆ ต้องใช้เอกสารประกอบอะไรบ้าง? ✅
- “อ้าว! ฉันต้องยื่นครึ่งปีด้วยหรอ!?!” ✅
- ลืมยื่นภาษีต้องทำยังไง!
- ผิดเงื่อนไขกองทุน RMF/SSF ทำยังไงดี!
หากโพสนี้ได้ cover จุดไหนแล้วบ้างจะมี ✅ นะครับ
(ซึ่งฟลุคจะทยอยโพสคอนเท้นต์เหล่านี้เป็นตอนๆให้นะครับ)
รายได้ของคนไทยมี 8 ชนิด
ประเภทเงินได้ | ตัวอย่าง | ค่าลดหย่อนจากช่องทางรายได้ |
40(1) | เงินเดือน โบนัส เบี้ยเลี้ยง | หักเหมา 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท (ใช้ค่าลดหย่อนร่วม 40(1)+40(2)) |
40(2) | ค่าจ้างที่รับเป็นจ็อบๆ ค่าคอมมิชชั่น ค่านายหน้า | หักเหมา 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท (ใช้ค่าลดหย่อนร่วม 40(1)+40(2)) |
40(3) | ค่าลิขสิทธิ์ | หักเหมา 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท |
40(4) | ดอกเบี้ย เงินปันผล | หักค่าใช้จ่ายไม่ได้ |
40(5) | ค่าเช่า | ตามจริงหรือเหมาจ่าย 10-30% |
40(6) | วิชาชีพอิสระ ประกอบด้วย ผู้ประกอบโรคศิลปะ/ทนาย/วิศวกร/สถาปัตย์/นักบัญชี | ตามจริงหรือเหมาจ่าย 30%, 60% |
40(7) | รับเหมาก่อสร้างโดยที่ผู้รับเหมาจะต้องเป็นผู้ที่จัดหาสัมภาระเอง | ตามจริงหรือเหมาจ่าย 60% |
40(8) | รายได้ช่องทางอื่นๆที่ไม่เข้าข่าย 40(1)-(7) | ตามจริงหรือเหมาจ่าย |
รายได้แบบเราต้องยื่นครึ่งปี หรือ เต็มปี?
หลังจากที่เราทราบชนิดของรายได้ของเราแล้ว เราจะสามารถทราบได้ว่าเราจะต้องยื่นภาษีแบบไหนดังตารางด้านล่างนี้
หากเรามีรายได้ครึ่งปี (1 ม.ค.-31 มิ.ย.) ชนิด 40(5)-40(8) ไม่ถึง 60,000 บาท ไม่จำเป็นต้องยื่นภาษีครึ่งปี ให้ยื่นแบบเต็มปีอย่างเดียวและทีเดียว แต่หากมีรายได้ครึ่งปีเกิน 60,000 บาท “ต้อง” ยื่นทั้งภาษีครึ่งปีและเต็มปีด้วย
ลักษณะรายได้ของผู้เสียภาษี | ยื่นภาษีครึ่งปี | ยื่นภาษีทั้งปี | |
1 | บุคคลผู้มีรายได้ 40(5)-40(8) (ในครึ่งปีแรก และ/หรือ ครึ่งปีหลัง) | ✅ ภ.ง.ด.94 ยื่นรายได้ 40(5)-(8) | ✅ ภ.ง.ด.90 ยื่นรายได้ 40(1)-(8) |
2 | บุคคลผู้มีรายได้เงินเดือน 40(1) อย่างเดียว | – | ✅ ภ.ง.ด.91 ยื่นรายได้ 40(1)-(8) |
3 | บุคคลผู้มีรายได้ 40(2)-(4) อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือรายได้ 40(1)-(4) มากกว่า 1 รูปแบบ | – | ✅ ภ.ง.ด.90 ยื่นรายได้ 40(1)-(8) |
ปล. ภงด.90 ภงด.91 ภงด.94 คือชื่อเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการยื่นแบบฯ จริงๆไม่ต้องจำตัวเลข เพราะตอนยื่นออนไลน์ มันจะ generate เอกสารให้แบบอัตโนมัติ ยกเว้นแต่หากลืมยื่น ยื่นเพิ่มเติม หรือยื่นแบบกระดาษที่เราจะต้องส่งเอกสารตัวจริงไปที่สรรพากรเขตของเรา เราถึงจะต้องจำ “ชื่อเอกสาร” ให้ถูก
ช่วงเวลาที่ต้องยื่นภาษี 2567 หมดเขตเมื่อไหร่
– ภงด.94 = เอกสารยื่นครึ่งปี
– ให้กรอกตัวเลขรายได้ตั้งแต่เดือน ม.ค.-มิ.ย. คำนวณภาษีครึ่งปี 2567 และยื่นประมาณเดือน ก.ค.-ส.ค. ของปีนั้นๆ และสำหรับปี 2567 หมดเขต 8 ต.ค. 2567
– ภงด.91 = เอกสารยื่นทั้งปี กรณีมีรายได้เฉพาะเงินเดือน 40(1)
– ให้กรอกรายได้ตั้งแต่ ม.ค.-ธ.ค. 2567 และยื่นภายในเดือนมี.ค.ของปีถัดไป
– ภงด.90 = เอกสารยื่นทั้งปี หากมีรายได้อื่นๆที่ไม่ใช่เฉพาะเงินเดือน 40(1)
– ให้กรอกรายได้ตั้งแต่ ม.ค.-ธ.ค. 2567 และยื่นภายในเดือนมี.ค.ของปีถัดไป
กรณีมีรายได้ 40(5)-(8) จะต้องยื่น 2 รอบ คือ ครึ่งปี (ภงด.94) ให้ยื่นเฉพาะรายได้ 40(5)-(8) เท่านั้น เมื่อยื่นทั้งปี (ภงด.90) ให้ยื่นรายได้ทั้งหมด 40(1)-(8) โดยตอนคำนวณภาษีทั้งปี จะต้องนำรายได้ของครึ่งปีแรกมาคิดด้วยเสมือนคิดใหม่ทั้งหมด
ตารางค่าลดหย่อนภาษีครึ่งปีและทั้งปี อะไรใช้ลดหย่อนได้เท่าไหร่บ้าง?
สิทธิ์ค่าลดหย่อนที่สามารถใช้ได้ | ค่าลดหย่อนครึ่งปี ภงด. 94 สูงสุดที่สามารถใช้ได้ (บาท) | ค่าลดหย่อนทั้งปี ภงด. 90 สูงสุดที่สามารถใช้ได้ (บาท) | หมายเหตุ |
ผู้มีเงินได้ | 30,000 | 60,000 | หากเป็นบุคคลซึ่งเสียภาษีให้กับกรมสรรพากร/รัฐบาลไทย จะได้ค่าลดหย่อนนี้โดยอัตโนมัติ |
คู่สมรสผู้ไม่มีเงินได้ | 30,000 | 60,000 | หากสามี/ภรรยา “ที่จดทะเบียนสมรส” อย่างถูกต้องตามกฎหมายมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ |
บุตร | 15,000 หากบุตรคนที่ 2 เกิดตั้งแต่ปีพ.ศ.2561 เป็นต้นไปลดหย่อนได้เป็นคนละ 30,000 บาท/คน | 30,000 หากบุตรคนที่ 2 เกิดตั้งแต่ปีพ.ศ.2561 เป็นต้นไปลดหย่อนได้เป็นคนละ 60,000 บาท/คน | อ่านเพิ่มเติม ที่เว็บกรมสรรพากร |
บิดา/มารดา หรือ บิดา/มาดราของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ | 15,000 | 30,000 | – บิดา/มารดา หรือบิดา/มารดาของคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายจะต้องมีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไปและมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี – หากมีบุตรหลายคน บิดาหรือมารดาจะถูกนำไปใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้แค่ครั้งเดียวต่อปีภาษีเท่านั้น ดังนั้นพี่น้องต้องตกลงกันว่าใครจะนำบิดา หรือมารดาไปลดหย่อนในปีภาษีนั้นๆ – ต้องใช้เอกสาร ล.ย. 03 ให้บิดา/มารดาหรือ บิดา/มารดาของคู่สมรสเซ็นด้วย |
อุปการะผู้พิการหรือทุพพลภาพ | 30,000 | 60,000 | 1.บุคคลพิการ/ทุพพลภาพต้องมีบัตรประจำตัวผู้พิการ 2.ต้องใช้เอกสาร ล.ย. 04 ตอนยื่นฯด้วย 3.อ่านเพิ่มเติม |
เบี้ยประกันชีวิต | เมื่อรวมกับเบี้ยประกันสุขภาพแล้วลดหย่อนได้ไม่เกิน 95,000 | เมื่อรวมกับเบี้ยประกันสุขภาพแล้วลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 | เงื่อนไขการใช้สิทธิ์คือจะต้องชำระเบี้ยประกันภายใน 30 มิ.ย. 2567 ก่อนถึงจะสามารถนำมาลดหย่อนภงด.94 ได้ |
เบี้ยประกันชีวิตคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ | 5,000 | 10,000 | ต้องเป็นคู่สมรสที่สมรสมาแล้วทั้งปี |
ประกันสุขภาพ | 25,000 | 25,000 | เงื่อนไขการใช้สิทธิ์คือจะต้องชำระเบี้ยประกันภายใน 30 มิ.ย. 2567 ก่อนถึงจะสามารถนำมาลดหย่อนภงด.94 ได้ |
ประกันสังคม | แล้วแต่ประเภทประกันสังคม ม.33 ตามจ่ายจริงไม่เกิน 4,500 บาท ม.39 ไม่เกิน 2,592 บาท ม.40 แล้วแต่ทางเลือก 1. ไม่เกิน 420 บาท 2.ไม่เกิน 600 บาท 3. ไม่เกิน 1,800 บาท | แล้วแต่ประเภทประกันสังคม ม.33 ตามจ่ายจริงไม่เกิน 4,500 บาท ม.39 ไม่เกิน 2,592 บาท ม.40 แล้วแต่ทางเลือก 1. ไม่เกิน 420 บาท 2.ไม่เกิน 600 บาท 3. ไม่เกิน 1,800 บาท | |
ประกันสุขภาพบิดา/มารดา | 15,000 | 15,000 | เงื่อนไขการใช้สิทธิ์คือจะต้องชำระเบี้ยประกันภายใน 30 มิ.ย. 2567 ก่อนถึงจะสามารถนำมาลดหย่อนภงด.94 ได้ |
ประกันบำนาญ | สูงสุด 200,000 แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้ครึ่งปีแรกก่อนหักค่าลดหย่อน | สูงสุด 200,000 แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้ก่อนหักค่าลดหย่อน | เงื่อนไขการใช้สิทธิ์คือจะต้องชำระเบี้ยประกันภายใน 30 มิ.ย. 2567 ก่อนถึงจะสามารถนำมาลดหย่อนภงด.94 ได้ |
SSF | สูงสุด 200,000 แต่ไม่เกิน 30% ของรายได้ครึ่งปีแรกก่อนหักค่าลดหย่อน | สูงสุด 200,000 แต่ไม่เกิน 30% ของรายได้ต่อปีก่อนหักค่าลดหย่อน | ต้องซื้อก่อน 30 มิ.ย. 2567 ถึงนำมาลดหย่อนครึ่งปี ภงด.94 ได้ |
RMF | สูงสุด 500,000 แต่ไม่เกิน 30% ของรายได้ครึ่งปีแรกก่อนหักค่าลดหย่อน | สูงสุด 500,000 แต่ไม่เกิน 30% ของรายได้ต่อปีก่อนหักค่าลดหย่อน | ต้องซื้อก่อน 30 มิ.ย. 2567 ถึงนำมาลดหย่อนครึ่งปี ภงด.94 ได้ |
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) | 30,000 | 30,000 | |
ดอกเบี้ยกู้บ้าน | 95,000 | 100,000 | |
ช้อปดีมีคืน 2567 | ไม่เกิน 50,000 | ไม่เกิน 50,000 | ซื้อสินค้าหรือบริการตามเงื่อนไขตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 |
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | ❌ | ✅ | |
กบข. | ❌ | ✅ | |
กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน | ❌ | ✅ |
ตัวอย่างการคำนวณเงินได้เพื่อเสียภาษีครึ่งปีและทั้งปี 2567
หากนาย A มีงานประจำเป็นโปรแกรมเมอร์ เงินเดือนเดือนละ 100,000 บาท และมีคอนโดปล่อยเช่า รายได้เดือนละ 10,000 บาท นาย A จะมีรายได้จากเงินเดือน 40(1) และค่าเช่า 40(5)*
* ณ สมมุติฐานว่านาย A ไม่มีค่าลดหย่อนใดๆเพิ่มเลย เช่น ค่าลดหย่อนบิดา มารดา ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ RMF SSF
เงินได้สำหรับยื่นภาษี (ก่อนหักค่าลดหย่อนเพิ่มเติม) | รายได้ยื่นครึ่งปี ภงด.94 | รายได้ยื่นทั้งปี ภงด.90 |
40 (1) งานประจำโปรแกรมเมอร์ ลดหย่อน 100,000 บาท | 1,200,000-100,000 = 1,100,000 | |
40 (5) คอนโดปล่อยเช่า ลดหย่อน เหมา 30% | 60,000 – 30% = 42,000 | 120,000 – 30% = 84,000 |
ค่าลดหย่อนส่วนตัว | 30,000 | 60,000 |
รวม | 12,000 | 1,124,000 |
เงินได้ที่นาย A จะต้องยื่นฯสำหรับครึ่งปี 2567 คือ 40(1) 12,000 บาท
ส่วนเงินได้ที่นาย A จะต้องยื่นฯสำหรับทั้งปี 2567 คือ 40(1)+40(5) = 1,124,000 บาท ตามตารางด้านบน
Tips#1
เนื่องจากเงินได้ครึ่งปีแรกของนาย A ยังไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่ต้องเสียภาษี (รายได้ตั้งแต่ 150,000 บาทลงไป) ดังนั้นนาย A จะไม่ต้องชำระภาษีเพิ่มเติม แต่หากรายได้เกิน 150,001 บาท เขาจะต้องชำระภาษีเลย ไม่สามารถทบยอดไปชำระตอนยื่นภาษีทั้งปีได้
BONUS#1
หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมหมวดประกันชีวิต ไหนบอกว่าค่าลดหย่อนภาษีครึ่งปีได้แค่ครึ่งเดียว แต่ลดหย่อนได้เกือบเต็มแสนอย่างนั้นล่ะ!?!
เนื่องจากกฎหมายและนโยบายการสนับสนุนจากทางภาครัฐมักเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่การแก้กฎหมายต่างๆทำกระทำได้ช้ามากจึงใช้วิธีการออกกฎหมายลูกออกมาแทนการแก้กฎหมาย ก่อนหน้านี้ค่า “ลดหย่อน” ประกันชีวิตอยู่ที่ 10,000 บาท แต่ในปัจจบุันลดหย่อนได้มากถึง 100,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า! ดังนั้นส่วนที่เพิ่มขึ้นมาอีก 90,000 บาท ทางกฎหมายจะใช้คำว่า “ยกเว้น” ภาษี
ซึ่งตอนเรายื่นครึ่งปีสรรพากรระบุว่า “ค่าลดหย่อน” จะสามารถใช้ได้แค่ “ครึ่งเดียว” แต่ไม่ใช่ “ค่ายกเว้น” ดังนั้นตัวค่ายกเว้นจึงลดหย่อนได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย
ดังนั้นเราสามารถแจกแจงรายละเอียดได้ตามตารางด้านล่างนี้
หมวดประกันชีวิต | ค่าลดหย่อน (บาท) | ค่ายกเว้น (บาท) | รวม (บาท) |
ค่าลดหย่อนภาษีครึ่งปี ภงด.94 | 10,000/2 = 5,000 | 90,000 | 95,000 |
ค่าลดหย่อนภาษีทั้งปี ภงด.90, ภงด.91 | 10,000 | 90,000 | 100,000 |
อ้างอิง: ค่าลดหย่อนภาษีครึ่งปีกรมสรรพากร https://www.rd.go.th/60579.html
คำถามที่พบบ่อย
หากเรื่องสารพันปัญหาภาษีกำลังทำให้คุณปวดหัวอยู่
แชทมาคุยกับเราได้ที่